Wellcome ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ "ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี"

แนะนำ"ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี"

ชื่อ

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ในพระสังฆราชูปถัมภ์ อักษรย่อ ย.ส.พ. ชลบุรี
เครื่องหมาย ชายหนุ่มคุกเข่าเบื้องซ้าย หญิงสาวนั่งคุกเข่าเบื้องขวา ร่วมกัน
เทอดธรรมจักร
ใต้ภาพมีอักษรย่อว่า ย.พ.ส. ตามภาพ

จัดตั้งและจดทะเบียนสมาคมขึ้นเมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๕
โดยอยู่ในพระอุปถัมภ์ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์
และองค์ต่อๆ
มาจนถึงปัจจุบันนามสำนักงานพระระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชทานนาม
สำนักงานสมาคมว่า “สามัคคิยสภา”
เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๐


ที่ตั้งสำนักงาน
สามัคคิยสภา ต.มะขามหย่ง ถ.โพธิ์ทอง วัดกำแพง ถ.โพธิ์ทอง อ.เมือง จ.ชลบุรี

นายกสมาคม

คนที่ ๑ นายแพทย์อำนวย ถาวรจิตต์
๒ นายอธึก สวัสดีมงคล
นายจรูญ สวรรยาวัฒน์
ปัจจุบัน นายธีรชัย ทองธรรมชาติ

จุดมุ่งหมายหลัก ชักชวนคนหนุ่มสาวให้หันมาสนใจในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา ดีกว่าใช้เวลาให้สูญเปล่าไปกับความวุ่นวายในสังคม

งาน

๑. จัดตั้งโรงเรียนยุวพุทธฯ
๒. จัดให้มีการเทศน์ตลอดไตรมาส
๓. จัดงานประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาในทุกๆเทศกาล สำคัญๆ
๔. สงเคราะห์เด็กยากจนในชนบท
๕. มอบทุนการศึกษาเด็กยากจน
๖. บรรยายความรู้ จัดวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ออกไปบรรยาย ร่วมอภิปรายปัญหาของเยาวชน
๗. จัดงานประกวดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ และคุณธรรม
๘. จัดนิทรรศการ เสริมสร้างความรู้ ศิลปวัฒนธรรมแก่เด็ก และเยาวชน
๙. จัดงานวันเด็ก
๑๐. งานเทศกาลเข้าพรรษา

งานเผยแพร่
๑. จัดพิมพ์วารสาร “สามมุข” เพื่อเผยแพร่งานของสมาคม แจกฟรีแก่สมาชิก
๒. จัดพิมพ์พ๊อคเก็ตบุ๊ค เรื่องสั้น สาระความรู้ต่างๆ เผยแพร่พุทธศาสนา
โดยผลงานการคิดการเขียนของท่านผู้มีความรู้ความสามารถ อาทิ
ตอบปัญหาร้อยแปด ของ เสถียร โพธินันทะ ไปลังกา, ไปไหว้พระที่อินเดีย
ของ มนูญ ธารานุมาศ คาถาธรรม ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(เจริญ ญาณวรเถร) พระอานท์เถระ ของ พระธรรมโกษาจารย์
(ชอบ อนุจารี) เรื่องเมืองชล, เขาเล่าว่า, ข้างเจดีย์, ฯลฯ
ของ อธึก สวัสดีมงคล๑๕๐ ปี วัดกำแพง, บุรพาจารย์วัดเขาบางทราย,
พระเมืองชล, เรื่องเมืองชล ฯลฯ โดย ธีรชัย ทองธรรมชาติ


ปัจจุบัน ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ก็ยังคงไว้ซึ่งจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของสมาคมมาตลอดเป็น เวลาถึง ๕๐ ปี แม้สถานการของโลก และประเทศไทยจะพัฒนาก้าวไกลไปอย่างไม่หยุดยั้ง ปัญหาสังคม และเยาวชนมีมากขึ้น กิจกรรมบางอย่างจำต้องยกเลิกไป ก็ได้มีการริเริ่ม สร้างสรรค์ งานกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อประชาชนและเยาวชนต่อไป อาทิ
-
การจัดกิจกรรมโครงการครอบครัวอบอุ่นด้วยพระธรรม ที่ได้มีการจัดต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๒ปี
และจะได้จัดต่อๆไป
และได้รับการตอบรับจากผู้ปกครองของเด็กและเยาวชน ด้วยดีเป็นอันมาก,
-
การจัดพิมพ์วารสารสิ่งพิมพ์สาระความรู้ใหม่ๆ ออกเผยแพร่ต่อประชาชนผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง
-
เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณะซ่อม สร้าง ถาวรวัตถุสำคัญๆ ของชาวชลบุรี เช่น
หอพระพุทธสิหิงค์ชลบุรี
วัดเขาบางทรายชลบุรี, วัดกำแพง ชลบุรี, สร้างวัดเมืองใหม่ ชลบุรี
- งานสงเคราะห์ต่างๆ แจกทุนการศึกษาเด็กยากจนชนบท , นำข้าวสารอาหารแห้งบริจาค
ยังโรงเรียนตามที่มี
การร้องขอ
-
จัดงานบุญประเพณีสำคัญของชาวพุทธโดยต่อเนื่อง
- จัดนิทรรศการโบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรม แสดงแก่ประชาชนผู้สนใจ

สนใจวารสาร งานติดต่อ ทำบุญ
ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี วัดกำแพง ถ.โพธิ์ทอง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๐๐๐

โทรสาร, โทรศัพท์ 038 276330
โทรศัพท์ 038 282930 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ (8.00 น. – 15.30 น.)

นโยบาย

๑) นโยบายสร้างคน ให้เป็นเยาวชนที่ดี
๒) พัฒนาเยาวชน โรงเรียนยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี
๓) เทศตลอดไตรมาส ไม่เคยขาดเลยสักปี
๔) โครงการขบวนธรรมสู่ชนบท
๕) ปลุกคนให้ตื่นจากความยากจน
๖) พัฒนาจิตใจ
๗) นิทรรศการ ผลงานที่คนชื่นชอบ
๘) งานประเพณีชลบุรี
๙) งานปีใหม่
๑๐)วันสำคัญ
๑๑)เทศการสงกรานต์
๑๒)สงฆ์อาพาธ
๑๓)บ้านคนชรา ต้องเยียวยาด้วยน้ำใจ
๑๔)งานสังคมสงเคราะห์
๑๕) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา
๑๖) ประเพณีวิ่งควาย
๑๘)ภาษิตปริทรรศน์ จัดครั้งยิ่งใหญ่ในเมืองหลวง
๑๙)วารสารสามมุข
๒๐)สร้างพระ
๒๑)หอพระ บุญสถานอันเอกอุดม
๒๒) ตักน้ำศักดิ์สิทธิ์
๒๓) ในพระมหากรุณาธิคุณ ร่วมบุญของชาวพุทธ
๒๔) หนังสือคือสายสัมพันธ์
๒๕) รายการโทรทัศน์

นโยบายสร้างคน
ให้เป็นเยาวชนที่ดี

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี มีนโยบายในการที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
จึงได้วางหลักการไว้ คือ พัฒนา “ความรู้” คู่ “คุณธรรม” จึงได้กำหนดงานปฏิบัติไว้ ดังนี้
๑.จัดตั้งโรงเรียนยุวพุทธ
เสริมการเรียนภาคกลางวัน อบรมความรู้ พุทธศาสนา เปิดสอนเป็นประจำทุกคืน โดยไม่เก็บค่าบำรุงค่าเล่าเรียน ให้อุปกรณ์การเรียนฟรี
๒.จัดให้มีเทศน์ตลอดไตรมาส
มีการแสดงพระธรรมเทศนา อบรมพุทธเยาวชนให้เทศกาลเข้าพรรษาตลอดไตรมาส ณ สำนักงานสมาคมแต่เวลา ๑๙.๐๐ น.
๓.ประกอบพิธีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
นำนักเรียนโรงเรียนต่างๆ ร่วมประกอบพิธีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาฬาหบูชา ที่หอพระพุทธสิหิงค์ชลบุรี
๔.เยี่ยมนักเรียนในชนบท
ไปเยี่ยมนักเรียนในถิ่นทุรกันดารโดยให้การสังคมสังเคราะห์ด้วยเสื้อผ้า,อาหารแห้ง และเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์เยาวชนตำบลต่างๆ
๕.มอบทุนการศึกษา
มอบทุนการศึกษานักเรียนทุกระดับชั้น ตลอดจนอาชีวะ และมหาวิทยาลัย
๖.บรรยายความรู้
จัดวิทยากรให้คำบรรยายร่วมอภิปรายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่ได้ติดต่อขอมา
๗.ประกวดกิจกรรม
จัดประกวดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้และคุณธรรม
๘.จัดนิทรรศการ
จัดนิทรรศการเพื่อเสริมสร้างความรู้ ศิลปวัฒนธรรมแก่เด็ก และเยาวชน
๙.จัดงานวันเด็กแห่งชาติ
จัดงานวันเด็กแห่งชาติ และวันเยาวชนแห่งชาติ โดยร่วมกับสถาบันต่างๆ


พัฒนาเยาวชน

โรงเรียนยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี

เยาวชนเป็นทรัพยากรมีค่าของชาติ

เยาวชนคือสมบัติล้ำค่าของชาติ

เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่วันหน้า

ภาษิตเหล่านี้ใครๆ ก็รู้ เมื่อรู้แล้วใครบ้างที่ได้ร่วมจิตร่วมใจกันพัฒนาเยาวชน

ทำงานเพื่อเยาวชนกันอย่างจริงใจและจริงจัง ถึงวันเด็กครั้งใดก็ฮือฮากันครั้งนั้น และ

ก็เงียบไป กิจกรรมที่ไม่ต่อเนื่องนี้จะเกิดอะไรขึ้น จะได้ผลอะไรมากนัก

นักพัฒนาทั้งหลายจะต้องยอมรับว่า งานพัฒนาที่สำคัญที่สุด คือการพัฒนาจิต

ใจ อาหารมีความสำคัญต่อความเจริญเติบโตต่อร่างกายฉันใด คุณธรรมก็มีความสำคัญ

ต่อความเจริญของจิตใจฉันนั้น ตราบใดที่เรายังไม่รวมใจกันพัฒนาจิตใจเยาวชนให้หา

คุณธรรม ตราบนั้นก็ยากที่เราจะเห็นความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติได้

ชื่อยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีบ่งชัดว่า เป็นสมาคมที่ทำงานเพื่อให้เยาวชน

สนใจในหลักธรรม ย้ำหลักธรรมฝังไว้ในจิตใจเยาวชน ทำอย่างไรจึงจะให้เยาวชน

เห็นคุณค่าศาสนธรรม หันมานับถือศาสนา แทนที่จะเห็นว่า ศาสนาเป็นเรื่องของคน

แก่คนเฒ่าเท่านั้น

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี มีความเห็นว่า จำเป็นต้องมีโรงเรียนสอนศาสนาให้

กับเยาวชน ต้อนสอนนักเรียนให้รู้ให้เห็นคุณค่าธรรมะ ด้วยเหตุนี้ ยุวพุทธิกสมาคม

ชลบุรีจึงจัดตั้งโรงเรียนยุวพุทธ ขึ้น

ในเทศกาลเข้าพรรษา เวลา ๑๙.๐๐ น. ตลอดไตรมาส สำนักงานยุวพุทธิก

สมาคมชลบุรี จะมีพุทธเยาวชนจำนวนหนึ่ง นั่งพับเพียบสดับฟังพระธรรมเทศนา

ก่อนสดับพระธรรมเทศนาพุทธเยาวชนเหล่านี้ จะเป็นผู้อาราธนาศีลห้าพร้อมๆ

กันดังๆ และสมาทานศีล ดังๆ อย่างชัดถ้อยชัดคำ ฟังพระธรรมเทศนาจบแล้ว

เขาเหล่านี้จะพร้อมใจกันถวายพระราชกุศลเป็นประจำทุกคืน กล้ากล่าวได้ว่า

ยุวพุทธิกสมาคมได้ปฏิบัติมาแล้วกว่า ๓๐ ปี มีพุทธเยาวชนที่ผ่านการสดับ

พระธรรมเทศนาตลอดไตรมาสมาแล้วเป็นจำนวนพัน และเขาเหล่านี้เป็นกำลัง

พัฒนาประเทศชาติอย่างไม่เป็นพิษเป็นภัย เพราะเขาได้พัฒนาจิตใจมาแล้วแต่น้อย

จนเติบโต

เทศน์ตลอดไตรมาส

ไม่เคยขาดเลยสักปี

นายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนากยกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เป็นอุบาสกที่

มั่นคงในการฟังธรรมมาโดยตลอด เมื่อสมาคมมีสำนักงาน คือ สามัคคิยสภา

เป็นสำนักงานถาวรแล้ว โครงการหนึ่งที่ยังดำเนินอยู่ในขณะนี้ก็คือ การจัดให้มี

เทศน์ตลอดไตรมาส เพื่อชักชวนให้สมาชิก และประชาชนในละแวกใกล้เคียง ได้

ฟังพระธรรมเทศนาในเทศกาลเข้าพรรษา ได้อาราธนาพระภิกษุ สามเณรมาแสดง

พระธรรมเทศนาในช่วงหัวค่ำ โดยพลัดเปลี่ยนเวียนกันวันพระละหนึ่งองค์

หลังจากคณะกรรมการ สมาชิก และชาวบ้านได้ฟังธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ท่านใดยังไม่รีบร้อนกลับ ก็จะนั่งสนทนาธรรมกันต่อ งานยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี

หลายโครงการเกิดขึ้น จากการสนทนากัน ปัญหาหลายอย่างลุล่วงไปด้วยการสนทนา

กัน แล้วนำไปปฏิบัติ จนเกิดเป็นรูปธรรม นับว่าการฟังธรรมได้ประโยชน์หลาย

ประการ

ปัจจุบันนี้ การเทศน์ตลอดไตรมาสก็ยังดำเนินอยู่ แม้จะเปลี่ยนแปลงไปจาก

ชาวบ้าน คณะกรรมการ มาเป็นนักเรียนโรงเรียนยุวพุทธ ซึ่งนักเรียนคนใดมีความ

วิริยะอุตสาหะในการฟังธรรมตลอดไตรมาส คณะกรรมการยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี

ก็จะพิจารณามอบทุนการศึกษาให้




โครงการขบวนธรรมสู่ชนบท
ของ

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ในพระสังฆราชูปถัมภ์

นอกจากการตั้งโรงเรียนยุวพุทธิ และการจัดให้มีพระธรรมเทศนาตลอด
ไตรมาสแล้ว ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรียังได้จัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการ
พัฒนาจิตใจเยาวชน เป็นระยะเวลาอันยาวนานและปฏิบัติสือต่อกันมาทุกระยะ
เช่น จัดขบวน
ธรรมสู่ชนบท นิมนต์พระสงฆ์ไปให้การอบรมธรรมะยังโรงเรียน
ต่างๆ พร้อมทั้งให้การสงเคราะห์ด้วยเสื้อผ้า สมุด ดินสอ อาหาร และอุปกรณ
์การกีฬา ยารักษาโรคของใช้ต่างๆ ทั่วทุกอำเภอ จัดทุนการศึกษาแก่นักเรียน
ที่ยากจนในถิ่นทุรกันดาร แต่เป็นผู้มีความประพฤติดี ทั้งประเภท ชั้นประถม
ศึกษา มัธยมศึกษา ถึงระดับอุดม

ศึกษา ปีหนึ่งๆ กว่า ๑
,๐๐๐ ทุน

จุดมุ่งหมาย

๑. ประกาศพุทธธรรมแก่เยาวชน

๒. ให้การสงเคราะห์เยาวชนที่ยากจน

๓. สัมผัสชีวิตจริงของครู นักเรียนในถิ่นทุรกันดาร

หลักการปฏิบัติงาน

๑. จะปฏิบัติงานในโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร ที่ห่างไกลจากชุมชน ในเขต
ตำบล อำเภอต่างๆ ในจังหวัดชลบุรี

๒. จะปฏิบัติงานในโรงเรียนใด จะไม่แจ้งให้โรงเรียนนั้นทราบล่วงหน้า เพื่อจะได้เห็นสภาพที่แท้จริงของโรงเรียน ชีวติที่แท้จริงของครู
นักเรียน

๓. หากพบข้อบกพร่องใดๆ แล้ว จะไม่รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ เพื่อลงโทษข้อบกพร่องนั้นๆเว้นแต่จะเสนอเพื่อความเจริญของ
โรงเรียนหรือเพื่อความดีของครู

๔. การปฏิบัติงานแต่ละครั้ง ต้องมีผู้ร่วมปฏิบัติงานด้วยไม่ต่ำกว่า
๔ คน ในจำนวนนี้ต้องเป็นกรรมการสมาคมอย่างน้อย ๑ คน


ปลุกคน

ให้ตื่นจากความยากจน

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี พยายามปลุกคนให้ตื่นจากความจน โดยถือว่าความจน
ไม่ใช่อุปสรรคหรือปัญาชีวิต ปลุกขึ้นจากหล่มอบายมุขฉุดขึ้นจากความชั่วต่างๆ

หลายคนพ้นหล่มอบายมุขแล้วจะรำลึกนึกถึงความดี ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี

พยายามให้ทุกคน ที่อยู่ในแวดวงของเขา สั่งสมแต่ความดีด้วยอุบายวิธีต่างๆ

ฝึกคนให้เป็นงาน สร้างคนให้ทำงาน ให้เป็นงาน งานปลุกคน สร้างคนเป็นงาน

ที่ี่เหน็ดเหนื่อยมาก คือเหนื่อยใจ แต่ก็ต้องพยายาม

พระโพธิสัตว์ คือผู้แสวงหาความรู้ ผู้นำสัตว์ให้พ้นจากกองทุกข์ ผู้นำ
สัตว์โลกให้ตื่น ผู้ปลุกคนให้ตื่น ทำไมเราท่านทั้งหลายไม่พยายามทำตนเป็น

พระโพธิสัตว์ ช่วยสัตว์โลกทั้งหลายกันบ้าง

คณะยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ได้ไปเยี่ยมวัดและหมู่บ้านชนบทเป้นประจำ
วันหนึ่งได้ไปวัดใต้ต้นลาน และวัดกลางคลองหลวง ตำบลไร่หลักทอง อำเภอ

พนัสนิคมจังหวัดชลบุรี พบกลุ่มหญิงสาวรวมกันอยู่ที่วัดกลางคลองหลวงประมาณ

๓๐ คน จึงได้แวะไปสอบถามดู จึงได้ไปสอบถามดู ปรากฎว่าเขาเหล่านั้นอยากจะ

เรียนวิชาตัดเสื้อ พัฒนาชุมชนตำบลมีจักรเย็บผ้าอยู่แล้ว แต่ไม่มีครูสอน ได้ติดต่อครู

มาสอนเขา ขอค่าสอนเป็นรายคนๆ ละ ๖๐๐ บาท จะมีคนเรียนวิชาตัดเสื้อ

ประมาณ ๒๐-๒๕ คน แต่เขาเหล่านั้นไม่พร้อมที่หาเงินมาเป็นค่าครูสอนได้

จึงรวมกลุ่มปรึกษาหาทางออกกันอยู่

นายอธึก สวัสดีมงคล นายกยุวพุทธิก
สมาคมชลบุรี รับที่จะหาครูสอนตัดเสื้อผ้ามาสอนที่วัดกลางคลองหลวง ให้โดย

ไม่เก็บค่าเล่าเรียนเลย แต่มีข้อแม้ว่า ผู้เรียนจะต้องตั้งใจเรียนให้จริง อย่าขาดเรียน
ถ้าขาดแล้วจะทำให้เสียเที่ยวที่เอาครูมา เสียทั้งเวลาและค่าพาหนะ
ตลอดจน
อาหารกลางวันเขาเหล่านั้นรับปากที่จะเรียนอย่างจริงจังผลที่สุดปรากฏว่า
นักเรียน
กลุ่มนั้นสำเร็จวิชาตัดเสื้อกันโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน ไม่ต้องเสียค่าพาหนะ แม้กระทั่งอาหารกลางวันของครูผู้สอนก็ไม่ต้องจ่าย ทุกอย่างทางสมาคมบริการให้
เสร็จเรียบร้อย ที่สุดมีผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ๑๗ คน เรียนวันอังคารและ

วันศุกร์ วันละ ๗ ชั่วโมง เรียน ๔๕ วัน เป็นเวลาเรียน ๓๑๕ ชั่วโมง เขาเหล่านั้นได้

ความรู้ได้อาชีพเป็นหลักฐานนี่คืองานจากน้ำใจพวกเราชาวยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี

คณะกรรมการที่เป็นครูสอนวิชาตัดเสื้อชุดนี้มี คุณคมคาย ธรรมธราวรรณ์ อุปนายก
และคุณจรินทร์ สินเนืองทอง

พัฒนาจิตใจ

การจัดงานศาสนาพิธี วันมาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา ที่หอ
พระพุทธสิหิงค์ฯ แต่ละครั้ง จะมีผู้หลั่งไหลมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ในจำนวน

เหล่านี้จะมีเยาวชนคนหนุ่มคนสาวเข้ามาสดับธรรมกถา โดยยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี

ได้อาราธนาพระผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงธรรมกถาและร่วมประกอบพิธีเวียนเทียนใน

วันสำคัญนี้ เป็นจำนวนกว่าห้าพันคน ผู้คนแน่นขนัด อย่างน้อยที่สุดเขาก็มีความสุข

ร่าเริงในบุญ ที่ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญๆทุกคนจะอยู่ในอิริยาบถที่สุภาพ

เรียบร้อย ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมกันจริงๆใครเล่าเป็นผู้ริเริ่มประเดิมงานนี้

แต่ก่อนเด็กหนุ่มสาว ไม่รู้จักไหว้พระ กราบพระ เมื่อจะไหว้พระ กราบ
พระก็อาย กระดาก ขวยเขิน ทำลับๆ ล่อๆ เดี๋ยวนี้ปรากฏว่ามีเด็กหนุ่มสาวมาปิดทอง

สรงน้ำพระกันมาก ตักบาตรปีใหม่ก็มากทั้งนี้เพราะยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เป็นสื่อ

กลางชี้นำให้เขาหันเข้าหาศาสนา และประพฤติปฏิบัติธรรมตามควรแก่อัธยาศัย

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เห็นว่าภาวะจิตของคนนั้นมีหลายระดับ มีทั้ง
อย่างหยาบอย่างกลาง อย่างละเอียด ถ้าเรารู้ภาวะจิตใจของแต่ละคนได้ ก็ง่ายที่จะ

ปลูกฝังคุณธรรมให้เหมาะสมกับภาวะจิตนั้นๆ แต่ใครเล่าจะเข้าถึงภาวะจิตของ

ปุถุชนเหล่านั้นได้ ผู้นั้นต้องใกล้พระอริยะจึงจะสามารถกำหนดรู้และน้อมนำนิสัย

สร้างปัจจัยให้เขาเหล่านั้น เข้าหาที่พึ่งอันแท้จริงได้ผู้ทำงานพระศาสนา ผู้ประกาศ

พระศาสนา จะต้องหมั่นฝึกฝนจิตของตน ให้บริบูรณ์ด้วยศีลสมาธิ ปัญญา จึงจะ

นำพาผู้อื่นให้พ้นทุกข์ได้

นิทรรศการ
ผลงานที่คนชื่นชอบ

งานอีกโครงการหนึ่งที่ นายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคม
ชลบุรีได้สร้างสรรค์ไว้จนปัจจุบันนี้ก็ยังคงอยู่ นั่นก็คือ “งานนิทรรศการ”
งานนิทรรศการนี้จัดเป็นครั้งยิ่งใหญ่ ที่วัดบวรนิเวศวิหารในงาน ๕๐ ปี แห่ง
วันสิ้นพระชมน์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งในงานนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอด
พระเนตร พร้อมทั้งมีกระแสรับสั่ง “ไม่เห็นมีใครจัดมาก่อน จัดได้ดีมาก” ยังความ
ปลื้มปิติยินดีแก่ชาวยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีเป็นล้นพ้น

ต่อจากนั้นยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีได้จัดแสดงนิทรรศการในสถานที่อื่นๆอีก
มากอาทิวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา,มหาวิทยาลัยขอนแก่น,มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒบางแสน,วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี,วิทยลัยครูสวนสุนันทา,จัดนิทรรศการ
๗๐๐ ปี ลายสือไทย,จัดนิทรรศการ ๑๐๐ ปี ม.จ.สิทธิพร กฤดากร,นิทรรศการ
รัชกาลที่ ๖ ฯ ลฯ

นิทรรศการที่จัดเป็นประจำทุกปี และได้รับการยกย่องชมเชยจากบุคคลที่
เข้าชม ซึ่งมาจากจังหวัดต่างๆ ก็คือ นิทรรศการโบราณวัตถุ ศิลป และวัฒนธรรม
ในงานประจำปีจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีผู้ชมที่มาจากต่างจังหวัดหลั่งไหลมาชมอย่างคับคั่ง
และมีผู้เขียนคำนิยมไว้ในสมุดเยี่ยมชมนิทรรศการของทางสมาคม


งานประเพณีชลบุรี

ประเพณีท้องถิ่น เป็นเรื่องชาวท้องถิ่นต้องช่วยกันรักษา
ประเพณีไทย เป็นเรื่องของคนไทยต้องช่วยกันรักษา
วัฒนธรรมไทย เป็นสมบัติของคนไทย เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยทั้งชาติ
ถ้าคนไทยไม่ช่วยกันรักษา แล้วเราจะให้ใครรักษา?

จริงอยู่เรื่องของขนบประเพณี วัฒนธรรม เป็นสมบัติของประชาชน
ประชาชน จะต้องช่วยกันดูแลรักษาและส่งเสริม แต่ถ้าผู้ปกครอง ผู้มีอำนาจบ้าน
เมือง หรือรัฐไม่ให้ความร่วมมือ สนับสนุนคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่จะให้ ประเพณีไทย
วัฒนธรรมไทย คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย


งานปีใหม่
ถวายผ้าป่า ตักบาตร
ปิดทอง-สรงน้ำพระ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เมื่อถึงวันปีใหม่ ชาวไทยส่วนใหญ่ จะออกไปสนุกสนานนอกบ้านกัน
อย่างสุดเหวี่ยงหาสาระอันใดให้แก่ชีวิตมิได้ บางคนเที่ยวจนสว่าง บางคนก่อเหตุ
วิวาทเพราะเมาสุราบางคนประสบอุบัติเหตุเนื่องจากเมาแล้วขับ กล่าวคือเมื่อถึงวัน
ปีใหม่แทนที่จะบำเพ็ญกุศล เพื่อเฉลิมฉลองให้กับชีวิตที่ได้ผ่านมาอีก ๑ ปี กลับไป
ใช้ชีวิตอันหาสาระมิได้

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เห็นทางที่จะชักชวนให้พุทธเยาวชนได้บำเพ็ญ
กุศลเนื่องในวันปีใหม่จึงได้จัดให้มีการถวายผ้าป่าปีใหม่ ตักบาตรใหม่ และ
ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ปีใหม่ โดดจัดงานในคืนวันที่ ๓๐-๓๑ ธันวาคม และวันที่
๑ มกราคม

คืนวันที่ ๓๐ ธันวาคม จะเป็นการพุทธภิเษกน้ำพระพุทธมนต์ และ
วัตถุมงคล เปิดโอกาสให้ประชาชนที่มาเที่ยวชมมหรสพได้นมัสการปิดทองพระ
สรงน้ำพระ

คืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม ยังเปิดโอกาสให้นมัสการปิดทองพระ-สรงน้ำพระ
จนได้เวลา ๒๔.๐๐ น. อาราธนา เจ้าอาวาสวัดกำแพงประพรมน้ำพระพุทธมนต์
แก่ผู้ที่มาร่วมบำเพ็ญกุศล พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา

เช้าวันที่ ๑ มกราคม ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ที่มารับถวายผ้าปีใหม่
และรับบาตรปีใหม่ เสร็จแล้วมีการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ทั้งในและนอกสามัคคิยสภา
เทศกาลปีใหม่ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวจังหวัดชลบุรีเป็นอย่างดียิ่ง
ปัจจุบันนี้ยังจัดบำเพ็ญกุศลดังกล่าว ยังความชื่นชมยินดีแก่ประชาชน ได้มีโอกาส
บำเพ็ญกุศลในวันปีใหม่เป็นอย่างดียิ่ง


วันสำคัญ
ช่วยกันสร้างกุศล-ตักบาตร
เพื่อถวายเป็นราชพลี

เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา
ฯลฯ ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใกล้เคียงได้ทราบ และ
ชักชวนให้ไปบำเพ็ญกุศลและเวียนเทียนเพื่อบูชาองค์พระพุทธสิหิงค์ชลบุรี มีการ
ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์อาพาธที่ตึกสงฆ์โรงพยาบาลชลบุรี กลางคืนอาราธนา
พระภิกษุที่ทรงคุณวุฒิ มาแสดงธรรมกถาที่หอพระชลบุรี เสร็จแล้วเวียนเทียนรอบ
หอพระฯ เพื่อบูชาพระพุทธสิหิงค์ชลบุรี เป็นประจำทุกครั้ง

เมื่อถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็จะประชาสัมพันธ์ และชักชวนให้ประชาชน
มาร่วมกันตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล ณ บริเวณหอพระพุทธสิหิงค์ชลบุรี เป็นประจำ
ทุกครั้งเช่นเดียวกัน

และเมื่อถึงเทศกาลออกพรรษา ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีก็ชักชวนให้

ประชาชนร่วมกันตักบาตรเทโวโรหณะ ที่บริเวณหอพระพุทธสิงหิงค์ชลบุรี ปรากฏ
ว่าการจัดงานแต่ละครั้งมีพ่อค้าประชาชน และข้าราชการได้มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
จนถือเป็นประเพณีปฏิบัติอย่างน่ายินดี

ทุกครั้งที่ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีจัดงาน จะได้รับความร่วมมือจากทางจังหวัด

และเทศบาลเมืองชลบุรี หน่วยราชการอื่นๆ เป็นอย่างดีทุกครั้ง โดยเฉพาะผู้ว่าราชการ
จังหวัดจะมาเป็นประธานทุกครั้งไป

ปิดทอง-สรงน้ำพระ
เทศกาลสงกรานต์
ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารคาว-หวาน

เดือนเมษายนของทุกปี ชลบุรีจะมีงานมหกรรมที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่ง ก็คือ งานสงกรานต์
เป็นประจำปีของจังหวัดชลบุรี แต่ก่อนงานนี้ไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาแต่อย่างใด นอก
จากมหกรรม
การแสดงต่างๆ และการจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง การออกร้านของอำเภอ
ต่างๆ งานแสดงศิลป
หัตถกรรมและฯลฯ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๐๓ เริ่มหล่อองค์พระพุทธ
สิงหิงค์ชลบุรี ขึ้น แต่นั้นมางาน
ประจำปีจึงมีประเพณีปิดทอง สรงน้ำพระในวันสงกรานต์ และตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารคาว-หวานแก่ผู้มาเที่ยวงานประมาณ ๒,๐๐๐ คน พร้อมทั้งจัดขบวนแห่องค์พระพุทธสิหิงค์จำลอง ขบวนนางสงกรานต์และสรงน้ำพระ
ในวันสงกรานต์นั้นด้วย


อาจกล่าวได้ว่างานประเพณีปิดทอง-สรงน้ำพระและตั้งโรงทาน
เลี้ยงอาหารคาว-หวาน
นี้เกิดขึ้นเพราะ นายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธิก
สมาคมชลบุรี เป็นผู้เสนอต่อที่ประชุม
คณะกรรมการจัดงานประจำปี ซึ่งที่ประชุมเห็น
ชอบ ดังนั้น งานปิดทองสรงน้ำพระ ยุวพุทธิกสมาคม
ชลบุรี และมูลนิธิพระพุทธ
สิหิงค์ชลบุรีจึงเป็นแม่งานมาโดยตลอดยังความปลื้มปิติยินดีแต่พุทธ
ศาสนิกชนทั่วไป
ที่ได้มีโอกาสกราบไหว้บูชาองค์พระพุทธสิหิงค์ฯ ในวันอันเป็นมงคลเช่นนั้น


สงฆ์อาพาธ

เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ถึงกาลมรณภาพลง คณะศิษยานุศิษย์
ได้เตรียมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพถวาย พร้อมทั้งดำริสร้างตึกสงฆ์อาพาธเพื่อ
รักษาตัวเป็นหลังแรกในเมืองไทย ที่มีอยู่ในต่างจังหวัด เพราะในระหว่างที่มีชีวิตอยู่
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็สร้างตึกผ่าตัดให้โรงพยาบาล ตึกสงฆ์สมเด็จพระพุทธ
โฆษาจารย์
ที่ชลบุรี จึงเป็นอนุสาวรีย์ที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีของชาวชลบุรี
ที่ร่วมบริจาคทรัพย์
สร้างเพื่อการกุศลถวาย และเทิดเกียรติคุณสมเด็จพระพุทธ
โฆษาจารย์(ญาณวรเถร)


เมื่อมีพระสงฆ์มาอยู่พักรักษาตัวเป็นเอกเทศ ก็จำเป็นต้องถวายอาหาร ตลอดจน
ปัจจัยความ
สุขต่างๆ แก่ท่านให้พอควรแก่อัตภาพ ทางโรงพยาบาลก็จัดการในเรื่อง
นี้อยู่ แต่ยุวพุทธิก
สมาคมชลบุรีก็ได้รวบรวมคนกลุ่มหนึ่ง นำภัตตาไปถวายเป็น
ครั้งคราว และวันสำคัญทางศาสนา
พร้อมทั้งถวายกัปปิยภัณฑ์ไทยธรรม ทุกรูป
ทุกองค์ที่พักรักษาตัว และ ถ้าปรากฏว่าพระสงฆ์
รูปใดถึงแก่มรณภาพไม่มีญาติ
มารับศพ ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ก็รับหน้าที่ในการเป็นเจ้าภาพ
ศพนั้นๆ

การถวายความสะดวกแก่พระสงฆ์อาพาธ ที่ตึกสงฆ์ชลบุรีนั้น เพราะยุวพุทธิก
สมาคม
ชลบุรี เห็นว่าพระสงฆ์ที่มารักษาส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ที่มาไกล ยากไร้
ไม่สะดวก ถ้าท่าน
อุดมสมบูรณ์ก็คงรักษาที่คลินิก หรือโรงพยาบาลชั้นนำแล้ว
ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีพยายาม
ที่จะให้การสงเคราะห์แก่ชนที่ยากไร้ทุกรูปแบบ
ทุกภาวะที่คิดว่าพอจะกระทำได้และไม่สู้จะ
มีใครทำกันที่ใดเขาทำกันมากแล้ว
ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีจะไม่แข่งขันไปทำด้วยโดยเฉพาะ
ดังพระพุทธดำรัส
ความว่า”ผู้ปฏิบัติต่อพระภิกษุผู้อาพาธเสมือนหนึ่งผู้ได้ปฏิบัติต่อพระพุทธองค์

” ได้เป็นอย่างดี ได้ผลานิสงส์ยิ่งใหญ่นัก

ฉะนี้เอง สถานสงเคราะห์คนชรา สงฆ์อาพาธเป็น
บุญยสถานที่ควรแก่การบำเพ็ญ
ของผู้แสวงบุญอย่างแท้จริง ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี จึงได้
ปฏิบัติต่อเนื่องมาจนปัจจุบันนี้

บ้านคนชรา
ต้องเยียวยาด้วยน้ำใจ

เมื่อสังคมเปลี่ยนไป ผู้ใหญ่ที่เคยเป็นหลักของบ้าน ก็ถูกลูกหลานบางคนรังเกียจ
ทอดทิ้งปล่อยให้อยู่อย่างไร้ความหมาย ทางราชการจึงต้องสร้างสถานสงเคราะห์
คนชราขึ้นเพื่อให้เป็นที่อยู่ที่อาศัยของคนชราบางคน ที่ลูกหลานปล่อยวาง ผู้ชราบาง
คนจึงต้องใช้ชีวิตอยู่ในสถานสงเคราะห์อย่างน่าสงสารอยู่อย่างโดดเดี่ยว แม้จะม
ีเพื่อนคนชรามากมายก็ตามแต่ในใจลึกๆ ของท่านนั้นเหมือนถูกทอดทิ้งจิตใจโหย
หาลูกหลานอยู่เป็นนิตย์

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ตระหนักถึงความรู้สึกของคนชราเหล่านั้นเป็นอย่างดี ดังนั้น
ในเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ จึงได้นำมหรสพและการแสดงต่างๆ นำไปให
้คนชราที่สถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุงได้ชมบ้าง วันปีใหม่ วันตักบาตรถวาย
พระราชกุศลยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีนำอาหารส่วนหนึ่งไปมอบให้สถานสงเคราะห์คน
ชราเพื่อจะได้เปลี่ยนรสอาหารที่จำเจซ้ำซากบ้างพร้อมทั้งนำเงินนำผ้ายารักษาโรค
ไปแจกจ่ายแก่คนชราเหล่านั้นอย่างทั่วถึงครั้นถึงวันสงกรานต์ชาวโลกทั่วๆไปมีการ
รดน้ำขอพรผู้มีอำนาจราชศักดิ์กันยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีจึงหันมารวมหมู่รวมคนจัด
งานรดน้ำขอพรคนชาบ้าง ยังความปลื้มปิติยินดีแก่คนชราเหล่านั้น ทำไมคนชรา
เหล่านั้นจะไม่ตื้นตันใน บางคนดีใจ ตื้นตันในถึงกับร้องไห้เพราะถึงแม้ลูกหลานจะ
ทอดทิ้ง ก็ยังมีนักบุญกลุ่มหนึ่งมาแสวงบุญ มาหาความสุขสวัสดีมงคลจากคนชรา ปรากฏว่างานรดน้ำขอพรคนชราในเทศกาลวันสงกรานต์ ที่เกิดจากความคิดของ
ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีนั้น ปัจจะบันปักหลักมั่นคงแล้วเป็นประเพณีที่จะต้องรักษาสืบไป

งานสังคมสังเคราะห์

คือการเพาะพืชพันธุ์แห่งบุญ

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี นอกจากจะได้นำเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และปัจจัย
อื่นๆ ไปมอบให้กับคนชรา สถานสงเคราะห์คนชรา บ้านบางละมุง
เป็นประจำทุกปีแล้ว ยังได้นำสิ่งของเครื่องใช้ข้าวสารอาหารแห้ง อุปกรณ์ทางการศึกษามอบให้กับสถาน
ศึกษา และสถาบันอื่นๆ เป็นการสงเคราะห์เยาวชนและผู้ยากไร้ อันควรแก่การสงเคราะห์
อาทิตย์

มอบอุปกรณ์การศึกษา อาหารแห้งให้กับโรงเรียนต่างๆในวันเด็กแห่งชาติ เป็น
ประจำทุกปีๆ ปีละหลายสิบโรงเรียนทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด

มอบอาหารแห้งให้กับ ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดชลบุรี เพื่อให้เขาเหล่านั้นรู้สึกว่าพวกเรามิได้ทอดทิ้ง ยังดูแลพวกเขาเสมือนญาติ เป็น
ประจำทุกปี

มอบอาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้ให้กับ คนพิการ สงเคราะห์คนพิการ
จังหวัดฉะเชิงเทรา

มอบอาหารคาว- หวานแก่ผู้เจ็บป่วย ตามสถานสงเคราะห์ ของวัดราษฎร์
ยุคล อำภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

การสงเคราะห์บุคคลอันควรแก่การสงเคราะห์ เหมือนได้เพาะพืชพันธุ์แห่ง
บุญกุศล เป็นตัวอย่างที่เยาวชนได้ร่วมกิจกรรม นำไปสู่การยึดถือเป็นแบบอย่าง เมื่อพวกเขาเจริญวัยขึ้นจะได้สืบสานงานของยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีสืบไป

งานประเพณี

แห่เทียนพรรษา

ย้อนหลังไปก่อน พ..๒๕๐๐ จังหวัดชลบุรียังไม่มีงานแห่เทียนพรรษา ที่เอิกเกริกยิ่งใหญ่เหมือนในปัจจุบันนี้ แต่ก่อนในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี เมื่อถึงเทศ
กาลเข้าพรรษา วัดเนินสุทธาวาส เพียงวัดเดียวที่ประชาสัมพันธ์ให้ชาวเมืองได้รู้ว่าใกล
้ถึงวันเข้าพรรษาแล้ว ด้วยการนำขบวนเล็กมีแห่พระพุทธรูปเคลื่อนไปตามถนนหนทาง
มีการตีกลอง ตุง
,ตุง,ตุง,ตุง เพียงเท่านี้ประชาชนก็ได้รับทราบ บางท่านมีจิตศรัทธาก็
นำเงินไปถวาย ร่วมหล่อเทียนพรรษากับวัดเนินสุทธาวาสเพียงเท่านั้น

เมื่อยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี จัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษไปแล้ว จึงดำริจัด
งานเทียนพรรษาขึ้นที่ สามัคคิยสภา ในเวลากลางคืนได้มีงานฉลอด โดยจัดให้มีการ
เล่นกลอนสดบ้าง บางปีมีการโต้วาที ครั้นได้เวลา ๒๒
.๐๐ น. ได้อาราธนาเจ้าอาวาส
วัดต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรีเพียง ๙ วัด มารับถวายเทียนพรรษา งานนี้ดำเนิน
มาถึง พ
..๒๕๐๕ นายอธึก สวัสดีมงคล นายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ได้เรียนเสนอ
นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในขณะนั้นว่าจะขยายงานเทียนพรรษา
ไปถวายยังวัดต่างอำเภอ และเห็นสมควรให้มีการประกวดขบวนแห่เทียนพรรษาของ
โรงเรียนต่างๆ ในเขตเทศบาลด้วย นายนารถ มนตเสวี เห็นชอบ นับแต่นั้นมายุวพุทธิก
สมาคมชลบุรี จึงร่วมกับทางจังหวัด และเทศบาลเมืองชลบุรีได้จัดประกวดขบวนแห่
่เทียนพรรษา จังหวัดชลบุรีเป็นประจำทุกปี ทั้งจำนวนเทียนพรรษาก็เพิ่มปริมาณขึ้น
ตามลำดับ จนงานเทียนพรรษาเป็นประเพณีของชาวชลบุรีมาจนทุกวันนี้ และจำนวนเทียนพรรษาก็เพิ่มจากจำนวน ๙ ต้น จนปัจจุบันนี้
(๒๕๔๕)จำนวน๓๒๐ต้น

นอกจากการถวายเทียนจำนำพรรษาไปยังวัดต่างๆ แล้ว ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี
ีในพระสังฆราชูปภัมภ์ได้จัดให้มีการมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
์ีอีกด้วย

ดังนั้นข้อความในบัตรบอกบุญแก่พุทธศาสนิกชน จึงมีข้อความที่เปรียบเสมือน
คำขวัญของสมาคม คือ

ถวายเทียนพรรษา

เป็นพุทธบูชา

ปัญญาโชติช่วง

ดวงตาแจ่มใส

สุขใจได้บุญ

ให้ทุนการศึกษา

พัฒนาเด็กยากจน

เสริมสร้างเยาวชน

สร้างคนให้เป็นคน

เป็นกุศลตลอดกาล

ประเพณีวิ่งความ หนึ่งเดียวในเมืองไทย

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี เป็นประเพณีวิ่งควายของชาวจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีจังหวัดเดียวในประเทศไทย เป็นประเพณีท้องถิ่นจริงๆ เป็นประเพณีที่มีมาแต่บรรพกาล งานประเพณีนี้จะมีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ เพียงแต่มีหลักฐานชี้ชัดว่า ในปี พ.ศ.๒๔๕๕
เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้เจ้าเมือง
จังหวัดชลบุรี พระยาวิเศษฤาไชย จัดการวิ่งควายถวายที่หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี
ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า การวิ่งควายจะต้องมีมาก่อนหน้านี้อย่างแน่นอน

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีได้เคยสนับสนุนงานประเพณีนี้มาหลายครั้งหลายวาระ การวิ่งควายในสมัยก่อนๆ เป็นการวิ่งควายของชาวบ้านจริงๆ เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ
เดือน ๑๑ ชาวบ้านก็จะนำควายเข้ามาในเมือง เพื่อความสนุกสนาน และซื้อหาของ
สำหรับทำบุญในวันรุ่งขึ้น ผู้เป็นเจ้าของควายจะประดับประดาควาย ให้สวยงามในรูป
แบบต่างๆ ในปี พ
..๒๕๑๔ เทศบาลเมืองชลบุรีกับยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ก็ได้ให้
ความสนับสนุน ฟื้นฟู จัดงานประเพณีวิ่งควายขึ้นอีก นำสิ่งของต่างๆไปแจกแก่เจ้า
ของควาย สิ่งของที่นำไปแจกก็คือ กระป๋องสำหรับตักน้ำอาบควาย เชือกควาย
ผ้าขาวม้า เป็นต้น

ประเพณีวิ่งควายยังดำเนินมาจนปัจจุบัน แต่รูปแบบของประเพณีได้เปลี่ยน
แปลงไปตามยุคตามสมัย ทิ้งร่องรอยของเก่าจนแทบจำไม่ได้ นายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธกสมาคมชลบุรีเคยกล่าวไว้ว่า
งานประเพณีต่างๆนั้นจำเป็นต้อง
พัฒนาให้เหมาะสมกับภาวการณ์ของบ้านเมือง แต่จะพัฒนาอย่างไรก็อย่าทิ้งฐานเดิม ต้องรักษาโครงสร้างเดิมไว้บ้าง มิใช่รื้อถอนทำลาย จนไม่มีร่องรอยของประเพณีเดิม
หลงเหลืออยู่

งานประเพณี

ลอยกระทง

งานประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่มีมาช้านาน นับเนื่องแต่ครั้งกรุงสุโขทัย
เป็นราชธานีประเพณีนี้ได้ตกทอดสืบมาจนปัจจุบันจังหวัดชลบุรีในเขตเทศบาลเมือง
ชลบุรีไม่มีสถานที่เหมาะสมในการลอยกระทงเมื่อถึงเพ็ญเดือนเดือนสิบสองชาวบ้าน
ก็จะพากันไปลอยกระทงที่คลองบางปลาสร้อยบ้าง สะพานตำหนักน้ำบ้าง สระน้ำในวัด
บ้าง เป็นสถานที่ลอยกระทง

จนถึง พ..๒๕๐๖ ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีได้ร่วมกับเทศบาลเมืองชลบุรี ฟื้นฟูการจัดงานลอยกระทงขึ้น จัดให้มีการประกวดลอยกระทง ในระยะแรกๆ ใช้สระน้ำโรงเรียนชลกันยานุกูลและสระน้ำในสวนตำหนักน้ำ ส่วนกระทงชาวบ้าน
ที่บูชาองค์พระพุทธสิหิงค์ ได้จัดให้มีการลอยกระทงรอบสระน้ำบริเวณหอพระ

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ร่วมกับมูลนิธิพระพุทธสิหิงค์ชลบุรี จึงได้ร่วมกันจัดงานประเพณีลอยกระทงขึ้น ที่บริเวณหอพระพุทธสิหิงค์ชลบุรี โดย
อาศัยสระน้ำรอบหอพระ เป็นสถานที่ลอยกระทงโดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชน
ลอยกระทงเพื่อบูชาองค์พระพุทธสิหิงค์ชลบุรี และสำนึกในพระคุณของ
น้ำ
ที่มีต่อ
คน

งานประเพณีนี้นอกจากจะมีการลอยกระทงแล้ว ยังเปิดโอกาสให้พุทธ
ศาสนิกชนได้กราบไหว้พระพุทธสิหิงค์ฯในเทศกาลนั้นด้วยยังความปลาบปลื้มใจแก่
พุทธศานิกชนทุกหมู่เหล่า ดังนั้นในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง บริเวณหอพระพุทธ
สิหิงค์ชลบุรี จะคลาดคล่ำไปด้วยประชาชนทุกเพศทุกวัยต่างร่วมใจกันมาลอย
กระทง บูชาองค์พระพุทธสิหิงค์ชลบุรี

ภาษิตปริทรรศน์

จัดครั้งยิ่งใหญ่ในเมืองหลวง

“…ไม่เห็นใครจัดมาก่อน จัดได้ดีมาก…”

เป็นส่วนหนึ่งของ กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสกับ
นายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม
..๒๕๑๔ เวลา ๑๗.๔๕ น. ตึกมนุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร เนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดงาน ๕๐ ปี แห่งวันสิ้น
พระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรกาส แล้วเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการของยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีพร้อม
ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงสนพระราชหฤทัยในนิทรรศการ
ภาษิตปริทรรศน์
เป็นพิเศษ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกระแสรับสั่งอยู่เป็นเวลานาน และทรงอ่านภาษิตปริทรรศน์ที่วางแสดงทุกบท

ผลงานจากการแสดงนิทรรศการครั้งนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดว่างานนี้ นอกจากพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา พระนางเจ้า
สุวัฑนาวรราชเทวี เสด็จทอดพระเนตรแล้ว ยังมีพระเถรานุเถระ และประชาชน ชมนิทรรศการครั้งนี้อย่างแน่นขนัดตลอด๘
วันปรากฏว่างานนี้สร้างชื่อเสียงเกียรติคุณ
ให้แก่ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีมาก มีข้อความที่ได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานพยาน ให้ชนรุ่นหลังได้ชื่นชมผลงานนี้อยู่ในหนังสือสามมุข และสมุดเยี่ยม ถึงแม้กาล
เวลาจะผ่านไปแล้วก็ตาม

ถามเหตุผลว่า ทำไมจึงต้องไปจัดนิทรรศการแสดงถึงกรุงเทพหลายครั้ง

นายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี อ้างเหตุผลพรพุทธ่จริยาพระพุทธเจ้าว่า
พระองค์ทรงประกาศ พระศาสนาครั้งแรกที่นครใหญ่ๆ ก่อน เมื่อนครใหญ่ๆ ได้ผลแล้ว ผลงานก็จะแพร่ขยายไปเอง จึงเห็นว่าหากงานของยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ปรากฏเป็น ที่นิยมชื่นชมของชาวนครหลวง ซึ่งเป็นที่รวมประชากรทุกจังหวัดแล้ว ก็เสมือนเผย
แพร่ผลงาน แพร่ขยายกระจายไปทุกจังหวัด และการจัดแต่ละครั้งก็ไม่เคยผิดหวัง

ส่วนใหญ่คนสนใจอะไร?

ตอบว่าภาษิตปริทรรศน์เรียกความสนใจจากผู้เข้าชมได้ทุกระดับ ไม่ว่าพระภิกษุสามเณรและฆราวาส ครู นักเรียน นิสิต นักศึกษา แม้แต่คนแก่คนเฒ่าต่างก็ให้ความสนใจในภาษิตปริทรรศน์มากกว่าอย่างอื่น


ภาษิตปริทรรศน์ คืออะไร?

ภาษิตปริทรรศน์นี้ก็คือ คำกลอนในหนังสือมงคลภาษิตนั่นเองนำมาเขียนในแผ่นกระดานไทยขนาดใหญ่
บทหนึ่งแล้วนำสิ่งของที่เข้ากับกลอนภาษิตนั้นวางเพื่อเร้าใจให้คนดูเมื่อคนดูของ
แล้วก็จะอ่านกลอนในกระดานนั้น เช่น

ถึงเพชรนิลจินดามีค่ายิ่ง

แต่ให้ลิงก็เป็นลิงไม่ทิ้งเผ่า

ให้ยศศักดิ์เสริมตัวคนมัวเมา

ก็เข้าเค้าอย่างลิงไม่ทิ้งรอยฯ

ก็นำลิงที่เขาทำด้วยลูกมะพร้าวทั้งลูกมาวางสัก ๒ ตัว สวมหมวกสวมสร้อยคอมีจี้เพชรหรือพลอย(ของปลอม) พอให้คนเห็นคนสนใจ แล้วคนก็จะคัดคำกลอนที่เห็นนั้น ครั้งหนึ่งๆ จะแสดงประมาณ ๒๐ บท ภาษิตแต่
ละบทเป็นธรรมะ จึงเป็นการสอนธรรมะแบบใหม่ ให้เด็กๆสนใจ ผู้ใหญ่ก็สนใจ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงรับสั่งชมเชยและทรงขอให้เผยแพร่บ่อยๆ เป็น
การเผยแพร่ศีลธรรมอย่างดี

หนังสือมงคลภาษิตนี้ เป็นคำกลอนที่เกิดจากอารณ์กวีของ นายอธึก
สวัสดีมงคล
อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เขียนวันละบทบ้าง หลายๆวัน
บทบ้าง หลายๆเดือนบทบ้าง รวมเข้าเป็นเล่มพิมพ์ครั้งแรกเมื่องานวางศิลาฤกษ์
ศาลายุวพุทธิกสมาคมชลบุรี วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ จำนวนหนึ่งพันเล่ม
ให้ชื่อหนังสือว่าจากแฟ้ม
อธึกต่อมาได้พิมพ์เป็นเล่ม ในงานสัปดาห์พระ
ไตรปิฎกครั้งที่ ๒
วันที่ ๒๐-๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๕ เป็นรูปเล่มธรรมดา
,๐๐๐ เล่ม สมุดข่อย ๑,๐๐๐ เล่มให้ชื่อว่า มลคลสุภาษิต จนบัดนี้ปรากฏว่า
หนังสือมงคลภาษิต ได้มีผู้ขออนุญาตจัดพิมพ์แจกในงานต่างๆ รวมแล้วกว่า
๖๐ ครั้ง เป็นหนังสือกว่าห้าแสนเล่ม และมีผู้คัดลอกไปเขียน ไปพิมพ์แต่ละ
บทๆ ติดไว้พิมพ์ไว้ในที่ต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้อ้างว่าเป็น
ผู้เขียนกลอนบางบท ที่คัดจากมงคลภาษิตไปก็มี ทั้งเล่มก็มี

ทราบว่า พระภิกษุพระยานรัตนราชมานิต ในระหว่างมีชีวีตอยู่ก็โปรด
มงคลภาษิตมากเคยท่องปากเปล่าให้ นากอธึก สวัสดีมงคล ฟังด้วย
พระเถระรูปหนึ่งกล่าวกับเขาว่า

ถึงคุณจะตาย มงคลภาษิตของคุณก็ไม่ตาย

พฤษกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา

(ของเก่า)


สร้างพระ

งานสงกรานต์ชลบุรีแต่ละปี ไม่เคยมีการปิดทองพระ สรงน้ำพระ หรือพิธีการใดๆ
เนื่องในวันสงกรานต์เลย เพียงแต่จัดงานมหกรรมฉลองสงกรานต์ เป็นงานประจำปี
เท่านั้น เห็นจังหวัดพระนครมีการแห่องค์พระพุทธสิหิงค์ สรงน้ำองค์พระพุทธสิหิงค์
นายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เสนอข้อเขียนลงในหนังสือ
พิมพ์ พร้อมทั้งเสนอความเห็นไปยังพลตรี สิริโยธิน และนายแสง รุจิรัต อดีตผู้ว่า
ราชการจังหวัดชลบุรี

ในที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานประจำปีจังหวัดชลบุรี พ..๒๕๐๒ เห็นชอบตามข้อเสนอนั้นและแต่งตั้งให้ พลตรีศิริ สิริโยธิน เป็นประธานกรรมการ
นายอธึก สวัสดีมงคล เป็นเลขานุการพร้อมด้วยคณะกรรมการอีกมากมายหลายท่าน
พลตรีศิริ สิริโยธิน ได้ติดต่อกรมศิลปากร เป็นผู้ถอดแบบจากองค์จริง และดำเนิน
การจัดหล่อด้วยเนื้อเงิน ในปี พ
..๒๕๐๒ นั้นเพียงแต่จำลององค์พระพุทธสิหิงค
ด้วยปูนปลาสเตอร์ มาเป็นตัวอย่างให้ประชาชนได้ชม พร้อมทั้งจัดแผ่นเงินจำหน่าย เพื่อรับบริจาคแผ่นเงินเนื้อเงินและทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการดำเนินการหล่อองค์
พระพุทธสิหิงค์

ปลายปี๒๕๐๒นายนารถมนต์เสวีย้ายจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทร
ปราการมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ท่านสนใจในเรื่องงานหล่อองค์
พระพุทธสิหิงค์มาก ขอดูเรื่องราวต่างๆ พร้อมทั้งศึกษางาน เตรียมงานเป็นอย่างดี ครั้นถึงกำหนดประชุมคณะกรรมการจัดงานประจำปี ๒๕๐๓ ท่านเอาเรื่องพระพุทธ
สิหิงค์เข้าที่ประชุม โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการหล่อในปี ๒๕๐๓ และจะ
ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ในเรื่องหล่อองค์พระพุทธสิหิงค์นี้ พลตรีศิริ สิริโยธิน
ได้เขียนเกี่ยวกับผู้ว่านารถ มนต์เสวีว่า

ต่อมาในปี พ..๒๕๐๓ ก่อนงานสงกรานต์ ประจำปี ท่านผู้ว่าราชการ
จังหวัดคนปัจจุบัน
(นายนารถ มนตเสวี) ซึ่งย้ายมาใหม่ได้มาแสดงความศรัทธา
กับข้าพเจ้าว่า จะขอร่วมมือสร้างพระพุทธสิหิงค์นี้ให้สำเร็จให้ได้ในปี พ
..๒๕๐๓ ความจริงจังของท่านผู้นี้ก่อให้เกิดความปิติแก่ข้าพเจ้า และคณะกรรมการผู้ร่วมงาน
เป็นอย่างยิ่ง ขั้นแรกได้คิดกันว่าอาจจะต้องอาศัยเวลาสักหน่อย ในการสร้าง แต่เมื่อมีการร่วมมือจริงจังเกิดขึ้นหลายๆฝ่ายเช่นนี้จึงก่อให้เกิดกำลังใจและในที่
ประชุมการจัดงานสงกรานต์ประจำปีพ
..๒๕๐๓ได้กำหนดให้มีการทำพิธีเทโลหะ
หล่อองค์พระพุทธสิหิงค์ขึ้นด้วย แผนงานต่างๆ ในเรื่องนี้ ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะได้
เป็นประธานกรรมการ แต่ข้าพเจ้าใคร่ขอมอบความสำเร็จส่วนใหญ่ให้แก่นายนารถ
มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีคนปัจจุบัน เพราะท่านผู้นี้ได้ทุ่มเทกำลังกายและ
ความคิดชนิดที่เรียกว่า บางครั้งก็
เสี่ยงจนทำให้งานเป็นผลสำเร็จอย่างที่เรียกว่า
น่าประหลาด

พร้อมกันนั้น พลตรีศิริ สิริโยธิน ได้เขียนพาดพิงถึง นายอธึก สวัสดีมงคล เกี่ยวกับการสร้างองค์พระพุทธสิหิงค์นั้นว่า

เฉพาะอย่างยิ่ง ที่เหน็ดเหนื่อยและใกล้ชิด ก็มี ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี นำโดย
คุณอธึก สวัสดีมงคล นายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ซึ่งได้เอาใจใส่ติดตามช่วยเหลือ ตลอดจนร่วมมือให้ความคิดเห็นความปรารถนาดีนับว่าควรแก่การยกย่องในที่นี้เป็น
อย่างยิ่งอีกท่านหนึ่งและชาวชลบุรีน่าจะปลื้มปิติที่บรรดายุวพุทธิกสมาคมของเรามี
ความเข้มแข็งและศรัทธาปสาทอย่างแรงกล้า และบรรดาท่านเหล่านี้ ต่อไปก็จะเป็น
ผู้ใหญ่ในวันหน้า จะได้ช่วยกันดำรงและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาของเรา ให้รุ่งเรือง
สืบไป

ทราบว่า เป็นความดำริของ นายอธึก สวัสดีมงคล ที่จะกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ถวายพระนามเต็มขององค์
พระพุทธสิหิงค์ที่ประชุมเห็นชอบด้วยและนายนารถมนตเสวีเป็นผู้มอบหมายให้เข้า
เป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้โดยตลอด ผู้ที่ใกล้ชิดงานหล่อพระพุทธสิหิงค์ พระประจำ
เมืองชลบุรี จะทราบชัดว่า ทั้งสามคนคือ นายนารถ มนตเสวี พลตรีศิริ สิริโยธิน
และนายอธึก สวัสดีมงคล เป็นกำลังหลักการในการปฏิบัติงาน พระพุทธสิหิงค
์ชลบุรีจึงมีสร้อยพระนามว่า

พระพุทธสิหิงค์ มิ่งมงคลสิรินารถ พุทธบริษัทราษฎร์กุศลสามัคคี ชลบุรีปูชนียพิตร

มิ่งมงคล ถวายนามเพื่อเป็นเกียรติ นายอธึก สวัสดีมงคล

สิริ ถวายนามเพื่อเป็นเกียรติ พลตรีศิริ สิริโยธิน

นาถ ถวายนามเพื่อเป็นเกียรติ นายนารถ มนตเสวี

องค์พระพุทธสิงหิงค์ชลบุรี กระทำพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๐๓ ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี มีสมเด็จพระพุฒาจารย์(โสม) วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นประธานพิธีเททองประธานพิธีพุทธาภิเษกแผ่นเงินและทองก่อนวันหล่อนั้น
สมเด็จพระสังฆราช
(จวน อุฏฐายีมหาเถร) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นประธานจุดเทียนชัย สมเด็จพระสังฆราช(ปลด กิตติโสณมหาเถร) วัดเบญจมบพิตร เป็นผู้ถวายพระนามและเป็นประธานเจิมพุทธบัลลังก์

หอพระ

บุญยสถานอันเอกอุดม

เมื่อสร้างองค์พระพุทธิหิงค์ชลบุรีเสร็จเรียบร้อยแล้วทางจังหวัดได้อัญเชิญองค์
พระพุทธสิหิงค์ชลบุรีประดิษฐานณห้องคลังจังหวัดศาลากลางหลังเก่าท่ามกลาง
การดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดกวดขันยากที่พุทธศาสนิกชนจะมีโอกาส
บำเพ็ญกุศลได้นอกจากเทศกาลงานสงกรานต์ซึ่งจะได้อัญเชิญออกไปให้ประชาชน
ได้นมัสการเท่านั้น

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี โดยนายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีในพระสังฆราชูปถัมภ์ ได้เรียนเสนอนายนารถ
มนตเสวี
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีขอให้สร้างหอพระเพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐาน
องค์พระพุทธสิหิงค์ฯ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้เห็นชอบด้วยจึงมอบหมาย
ให้นายอธึก สวัสดีมงคล ติดต่อกรมศิลปากร เพื่อดำเนินการออกแบบหอประดิษ
ฐานองค์พระพุทธสิหิงค์ กรมศิลปกรมอบให้พระพรหมพิจิตร เป็นผู้ออกแบบและ
กำกับการก่อสร้าง เมื่อทางจังหวัดได้ได้รูปแบบหอพระ และผู้กำกับการก่อสร้าง
เรียบร้อยแล้ว จึงได้ดำเนินการก่อสร้างทันที โดยมีสมเด็จพระสังฆราช สกล
มหาสังฆปรินายก
(ปลด กิตติโสภณมหาเถร) วัดเบญจมบพิตร เป็นประธาน
วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๐๕

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดหอพระ และทรงปลูกต้นโพธิ์พุทธคยาใน
บริเวณหอพระ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ
..๒๕๐๙ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ แก่ชาว
จังหวัดชลบุรีเป็นล้นพ้น

ตักน้ำศักดิ์สิทธิ์

ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ได้รับเกียรติจากจังหวัดชลบุรีให้ดำเนินการเรื่องต่างๆ
หลายเรื่อง หลายวาระ นับเป็นเกียรติแก่ชาวยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ก็คือ
การตักน้ำ
ศักดิ์สิทธิ์
เพื่อนำไปประกอบพิธีพุทธาภิเศก เป็นน้ำพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีมหา
มงคล เฉลิมพระชมนพรรษา ๕ รอบเพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายเป็นน้ำอภิเษก ในวันออก
เสด็จมหาสมาคม ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวงในวันเสาร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี จึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อดำเนินการ และหนึ่ง
ในคณะกรรมการนั้นนายอธึกสวัสดีมงคลได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตักน้ำจากสระข้าง
พระอุโบสถวัดเขาบางทราย พระอารามหลวง ชลบุรี เพื่อนำไปประกอบพิธีเสกทำน้ำ
ศักดิ์สิทธิ์

อีกครั้งหนึ่งที่ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีได้รับมอบหมายจากจังหวัดให้ร่วมดำเนิน
การประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ถวายเป็นน้ำอภิเษกในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีพระชนมายุ ๗๒ พรรษา นายจรูญ
สวรรยาวัฒน์
อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตักน้ำจาก
สระข้างพระอุโบสถวัดเขาบางทราย พระอารามหลวง ชลบุรี เพื่อนำไปประกอบพิธี
เสกทำน้ำศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน นับเป็นเกียรติและเป็นเครื่องยืนยันถึงความร่วมมือ กับทาง
จังหวัดได้เป็นอย่างดี

ในพระมหากรุณาธิคุณ

ร่มบุญของชาวยุวพุทธ

นับเป็นศิริมงคลของชาวพุทธิกสมาคมชลบุรีที่ได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ ของสมเด็จพระสังฆราชมาทุกพระองค์ และยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการดำเนินงานของสมาคม ในโอกาสต่างๆ อาทิตย์

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสำนักงานสมาคมว่า สามัคคิยสภาเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๐๐

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยืมภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พระนิพนธ์ของอดีตสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ ฯ งานปั้นของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยืมพระบรมฉายาลักษณ์ เนื่องในพระราชกรณียกิจต่างๆหลายครั้ง หลายวาระ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยืมบัตรประทานพร ที่ทรงมีไปยังพระประมุขและประมุขของประเทศต่างๆ รวม ๑๕ ปี ฯลฯ

หนังสือ

คือสื่อสายสัมพันธ์

ด้วยความคิดที่ว่าหนังสือ คือ สื่อสายสัมพันธ์ที่มีอายุยืนยาวที่สุด ยุวพุทธิก
สมาคมชลบุรี จึงได้จัดพิมพ์หนังสือขึ้นในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นสื่อสายสัมพันธ์กับผู้อ่าน ทั้งที่เป็นสมาชิกและประชาชนทั่วๆไปดังจะเห็นได้ว่าในรอบ๕๐ปีที่ผ่านมายุวพุทธิก
สมาคมชลบุรีได้จัดพิมพ์หนังสือขึ้น ทั้งที่จำหน่ายเพื่อการกุศลและเพื่ออภินันทนา
การแก่ผู้สนใจ อาทิตย์

ตอบปัญหาร้อยแปด ของ เสถียร โพธินันทะ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก หรือมีนามว่าตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่ สามารถพูดภาษาบาลีได้โดยไม่ได้เคยร่ำเรียน
ภาษาบาลีมาเลย

ภาษาวัด ของ เขมาจาระ หรือ ท่านเจ้าคุณพระราชมงคลเมธี(เขมาจาโร่) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไปลังกา และไปไหว้พระที่อินเดีย ของมนูญ ธารานุมาศ นักการศาสนาอีกท่านหนึ่งที่ท่องไปยังสถานที่ต่างๆ ในแวดวงของพระพุทธศาสนา
และศาสนาอื่นๆ

คาถาธรรม ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทราวาส มหาบุรพาจารย์ของชาวชลบุรี

ประวัติพระแก้วมรกต ของ ปรีดา ศรีชลาลัย นักประวัติศาสตร์ชาวจังหวัดชลบุรี ผู้คร่ำหวอดอยู่กับประวัติศาสตร์แห่งกรมศิลปากร

พระอานนทเถระ ของ พระธรรมโกศาจารย์ ( ชอบ อนุจารี) เจ้าอาวาสวัดราษฎร
์บำรุง เจ้าคณะจังหวัดชลบุรี ต่อมาท่านได้รับสถาปนาเป็น พระพิมลธรรม ราชบัณฑิต

มงคลภาษิต ของ นายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคชลบุรี พิมพ์
ครั้งหลังสุดเป็นครั้งที่ ๖๙ พิมพ์ในหลายรูปแบบ เป็นหนังสือที่แพร่หลายที่สุด พิมพ์
จำนวนครั้งมากที่สุด

เรื่องเมืองชล ของนายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เป็นหนังสือเกี่ยวกับจังหวัดชลบุรีในแง่มุมต่างๆ และที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และเจ้านายหลายพระองค์

เขาเล่าว่า เล่ม ๑-๓ ของ นายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคม
ชลบุรี เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมมากเล่มหนึ่ง โดยเฉพาะ ฯพณฯ ศาสตราจารย์
สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้คำนิยมไว้เป็นเกียรติและกำลังใจ

ข้างเจดีย์ ของ นายอธึก สวัสดีมงคล อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับพระสงฆ์กับชาวบ้านที่มีความสัมพันธ์กัน

นอกจากนั้น ยังมีหนังสืออื่นๆ ที่ตีพิมพ์อีกหลายสิบเล่ม ฯลฯ

รายการโทรทัศน์

หลายครั้งที่ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ได้รับเชิญให้ไปแสดงผลงานทางรายการ
โทรทัศน์ ทำให้ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายยิ่งขึ้น อาทิ

ได้รับเชิญให้จัดส่งนักกลอนชลบุรี แข่งขันรายการ ลับแลกกลอนสด กับนักกลอนจังหวัดอุบลราชธานี ทางรายการไทยทีวีช่อง ๙ สมัยที่ยังเป็นช่อง
๔ บางขุนพรหม

ได้รับเชิญให้แสดงผลงานทำ เครื่องมุกรายการของอาจารย์เต็มสิริ บุณยสิงห์ ทางรายการไทยทีวีช่อง ๙

จัดรายการเยาวชนสัมพันธ์แสดง โขนสดโดยนักเรียนโรงเรียนยุวพุทธ เรื่อง
หนุมานจองถนน รายการไทยทีวีช่อง ๙

จัดรายการเยาวชนสัมพันธ์แสดง ลำตัด โดยนักเรียนโรงเรียนยุวพุทธเรื่อง
ทำดีมีสุขรายการไทยทีวีช่อง ๙