วารสาร สามมุูข

ในระยะเริ่มแรกของการเริ่มงานยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีสมาคมจะเน้นหนักงานด้าน
ปาฐกถาธรรมเชิญองค์ปาฐกมาปาฐกถาเป็นประจำครั้นต่อมาปรากฏว่าสถานีวิทย
ุได้จัดบรรยายธรรมะขึ้นเกือบทุกสถานี แม้กระทั่งรายการทางสถานีโทรทัศน์ ก็จัด
ให้มีการบรรยายธรรมะ รูปงานของยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี จึงได้เปลี่ยนเป็นเผยแพร่
ธรรม ในรูปวารสารแทนรายการบรรยายธรรม วารสาร“สามมุข” จึงได้อุบัติขึ้นใน
เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๐๓ โดยมีวัตถุประสงค์
๑) เผยแพร่ผลงานของสมาคม
๒) เผยแพร่ธรรมะ
โดยมีนายอธึก สวัสดีมงคล รับเป็นบรรณกรควบคุมดำเนินการเกี่ยวกับหนังสือ
“สามมุข” โดยตลอด วางหลักการไว้ว่า
๑) หนังสือ “สามมุข” เป็นหนังสือพิมพ์แจกฟรี แจกแก่ผู้สมควรแจก แจกแก่ผู้มา
ติดต่อขอมา
๒) หนังสือ “สามมุข” จะเป็นหนังสือประเภทบางๆ ไม่หนักหนานัก เป็นหนังสือขนาด
๘ หน้า หนา ๓ ยก
๓) ข้อเขียนในหนังสือสามมุขทั้งหมด ต้องพยายามให้จบในเล่ม จะไม่มีเล่มต่อไปเพราะระยะของหนังสือที่ออกห่าง เกรงคนอ่านจะเบื่อ ถ้ามีเรื่องต่อ
๔) ข้อเขียนในหนังสือสามมุข จะเป็นธรรมะขั้นพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ เพื่อประโยชน์
แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้อ่านเพื่อปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กหนุ่ม หญิงสาว จะมีธรรมะชั้นปรมัตถ์บ้างก็ให้น้อยที่สุด จะหลีกเลี่ยงคำบาลีให้มาก
๕) จะเพิ่มเกร็ดความรู้ทางภาษา วรรณคดี และความรู้ทั่วๆไป ให้เป็นประโยชน์ แก่
นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครูบาอาจารย์ นำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย
๖) เรื่องในสามมุขนั้นต้องเป็นข้อเขียนที่ปรุงขึ้นใหม่ มากกว่านำข้อเขียนเก่าๆ มาคัดลง
๗) สร้างเอกลักษณ์ไทยลงในวารสารสามมุขให้มากที่สุด ปกเป็นภาพแกะไม้ ภาพ
ทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี เลขในวารสารสามมุขจะเป็นเลขไทยทั้งหมด
ฯ ล ฯ หลักการต่างๆ เหล่านี้ สามมุขได้รักษามาโดยตลอด และมีความมั่นใจว่า
หนังสือสามมุข จะอยู่ในโลกหนังสือนี้อีกนาน เพราะสามมุขขณะนี้พิมพ์ครั้งละ
๕,๐๐๐ เล่ม มีผู้อ่านติดต่อขอมาตลอด มีสมาชิกสามมุขอยู่ทั่วทุกจังหวัด โดยเฉพาะปรากฎว่ามีผู้นิยมชมชอบหนังสือ “สามมุข”ไปลงเผยแพร่ชี้นำถึงความ
ดีของหนังสือ สามมุข แม้แต่ท่านอดีตเจ้าคุณพระพิมลธรรม ราชบัณฑิต ท่านจะ
กล่าวขวัญ ยกย่องสามมุขอยู่เสมอ จะขอคัดมาเพียงบางบทเท่านั้น เช่น

โหมสามมุขดังสนั่นลั่นตรลบ
ขจรจบฟากฟ้าสุธาขรม
ทั่วบัณฑิตจิตศรัทธาประชาคม
ต่างนิยมชมสามมุขประยุกต์ธรรม
เกียรติสามมุขสุกงามข้ามสิบมุข
ฉ่าอยู่ทุกชมชนดังฝนฉ่ำ
รับทำนุลุทำนองคลองธรรมนำ
เกินคาดคำพร่ำนิยมยินชมมา
พระธรรมโกศาจารย์ ราชบัณฑิต (พ.ศ. ๒๕๒๐)

นอกจากนั้นนักการศาสนาหลายท่าน ให้การสนับสนุนสามมุขโดยเฉพาะ ฯพณฯ
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี พบ นายอธึก สวัสดีมงคล
ที่ไหน ก็ต้องชม”สามมุข” ที่นั่น ชมอย่างจริงใจ ข้อพิสูจน์ความดีของสามมุข คือศรัทธาจากชาวพุทธทั่วประเทศ หลั่งไหลบริจาคงเงินกองบุญสามมุข ถ้าหนังสือ
“สามมุข” ไม่ดีจริง ใครเล่าจะบริจาคเงินสนับสนุนจุนค้ำ ให้มีอายุยืนยาวมาจนกว่า
๔๐ปีความดีของสามมุขปลุกใจให้เขาเหล่านั้นบริจาคเงินสนับสนุนเพราะเป็นวารสาร
เล่มเดียวที่พิมพ์แจกฟรี แจกฟรีมาโดยตลอด ใครติดต่อขอมาแม้แต่ไม่เคยส่งเงินบำรุง
เป็นเวลาสิบๆปีก็ไม่เคยตัดจากสมาชิกขออย่างเดียวขอให้เขาอ่านเพราะนโยบายหลัก
คือการเผยแพร่ธรรมอย่างมีหลักการตลอด ๔๐ ปีเศษ สามมุขสามารถรักษาหลักการ
ทำงาน ไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง สามมุขเป็นวารสารที่แพร่ไปถึงในวัง กระทั่งในคุก มีทั้งในประเทศและต่างประเทศ



วารสาร
มีผู้อ่านเป็นพลัง
“สามมุขอยู่ได้เพราะ กองบุญ
“ผู้อ่าน” เขียนเรื่องหนุน เนื่องให้”

จากบทโคลงข้างต้นเป็นข้อยืนยันได้ว่า วารสารสามมุขนั้นอยู่ได้เพราะมีผู้อ่าน
หลากหลายท่านได้บริจาคเงินมาสมทบกองบุญ เพื่อเป็นค่าจัดพิมพ์ บางท่านส่ง
มาบำรุงทุกเดือน บางทานเขียนเรื่องส่งมาบำรุง บางท่านส่งทั้งเรื่องและส่งทั้งเงิน
มาร่วมกองบุญ หากจะนำรายชื่อทั้งหมดมาเผยแพร่ ก็จะต้องใช้หลายสิบหน้าจึงจะ
ลงรายชื่อท่านได้ครบ อาทิ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก,ส.ศิวลักษณ์,รบ รักเรียน,
เขมาจาระ ดอกไม้ป่า จากอุตรดิตถ์,ศ.ข.,ชนิต สุวรรณช่าง จากเพชรบุรี,เฉลิมชัย
ตาละลักษมณ์,เสถียร โพธินันทะ,อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ,ถวัลย์(มงคลรัตน์)
นวลักษณ์กวี,นิรัพพุท หรือ พยนต์ นุชพันธ์,ลักษณ์ บัวนุช จากอุตรดิตถ์,ร.อ.คำ
ศรีถนอม ร.น.,

ไม่มีความคิดเห็น: